ชื่อโปรเจค (ภาษาไทย)
การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน สำหรับบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศในโครงการสนับสนุน การจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อโปรเจค (ภาษาอังกฤษ)
web applications for managing information in the project to support the establishment of a science classroom in the demonstration school of chiang mai university under supervision
รหัสนักศึกษา
61521207006-9
ปีที่จบการศึกษา
2563
ที่ปรึกษา
อาจารย์จตุพร ศิลพรชัย
บทคัดย่อ
จากการศึกษาและจัดทำโครงงาน ผู้พัฒนาโครงงานการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน สำหรับบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศในโครงการสนับสนุน การจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในครั้งนี้ ผู้จัดทำโครงงานได้รวบรวมข้อบกพร่องและสอบถามความต้องการของผู้ใช้งานในระบบ แล้วนำมาวิเคราะห์และออกแบบระบบใหม่โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาปรับใช้ในการทำงาน ด้วยการจัดทำระบบฐานข้อมูลที่มีความเชื่อมโยงกันจนส่งผลให้มีความทันสมัย ซึ่งจะส่งผลดีต่อการทำงานของโครงการ วมว.-มช.เพื่อลดความยุ่งยากซับซ้อนในการทำงานให้สะดวกในการจัดการข้อมูลเอกสาร แบบฟอร์มต่างๆ ที่ต้องการความแม่นยำและถูกต้อง พร้อมทั้งออกรายงานและรายละเอียดอื่นๆ ให้รองรับกับเทคโนโลยีปัจจุบันและอนาคต ตามวัตถุประสงค์ของการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน สำหรับบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศในโครงการสนับสนุน การจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ใช้เครื่องมือในการพัฒนาดังนี้ เอชทีเอ็มเอล (html5), พีเอชพี (php), จาวาสคริปต์ (javascript) เพื่อให้รองรับกับทุกอุปกรณ์การใช้งาน สามารถทำงานในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชัน (web application) ทางผู้จัดทำได้ออกแบบระบบการทำงานหลักๆ ได้แก่ ระบบห้องปฏิบัติการ ระบบจัดการรายชื่อนักเรียนภายในหอพัก ระบบคำร้องต่างๆ
เป็นต้น ซึ่งได้แบ่งผู้ใช้งานออกเป็น 7กลุ่ม ได้แก่ ผู้ดูแลระบบ ผู้จัดการ อาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักเรียน ผู้ปกครอง เพื่อให้สามารถจัดการข้อมูลต่างๆ ในสถาบันเพื่อลดความ ผิดพลาดในการทำงาน พร้อมทั้งสรุปรายงานและรายละเอียดอื่นๆ ตามความต้องการของผู้ใช้งาน
จากการทดสอบระบบการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน สำหรับบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศในโครงการสนับสนุน การจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทางผู้จัดทำได้ทำแบบประเมินจำนวนทั้งหมด 20 ชุด โดยแบ่งข้อมูลพื้นฐานผู้ตอบแบบสอบถามดังนี้ 1) เพศ 2) อายุ 3) การศึกษา 4) สถานะผู้ใช้งานระบบพบว่าความพึงพอใจในภาพรวมพบว่าระดับความพึงพอใจของผู้มาตอบแบบสอบถามต่อความต้องการของผู้ใช้อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.92) โดยพอใจในด้านการแสดงผลของระบบมากที่สุด(ค่าเฉลี่ย 4.12) รองลงมาคือด้านความสามารถและการใช้งานของระบบ (ค่าเฉลี่ย 3.70) และด้านความถูกต้องและแม่นยำของระบบ ความพึงพอใจต่ำที่สุด (ค่าเฉลี่ย 3.68)
จากผลการประเมินที่ได้รับ ผลออกมาในระดับดี แสดงให้เห็นถึงเว็บแอปพลิเคชันสามารถใช้งานได้จริง มีการออกแบบหน้าจอผู้ใช้งานได้เป็นที่เพิ่งพอใจแก่ผู้ใช้ ช่วยให้การทำงานของโครงการ วมว.-มช. มีความเป็นระบบ และมีการจัดเก็บข้อมูลที่ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
ไฟล์เอกสาร
ป้ายกำกับ