ชื่อโปรเจค (ภาษาไทย)
ระบบการพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นสำหรับการบริหารจัดการฟาร์มไข่ไก่ ชานาลินฟาร์ม อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
ชื่อโปรเจค (ภาษาอังกฤษ)
system development, web applications and applications for the management of egg farms in chanalin. san pa tong district, chiang mai provide.
รหัสนักศึกษา
58541204074-3
ปีที่จบการศึกษา
2561
ที่ปรึกษา
อาจารย์จตุพร ศิลพรชัย
บทคัดย่อ
จากการศึกษาและจัดทำโครงงาน ผู้พัฒนาโครงงานระบบการพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นสำหรับการบริหารจัดการฟาร์มไข่ไก่ ชานาลินฟาร์ม อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ ในครั้งนี้ผู้จัดทำโครงงานได้รวบรวมข้อบกพร่องและสอบถามความต้องการของเจ้าของกิจการแล้วนำมาวิเคราะห์และออกแบบระบบใหม่ โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาปรับใช้ในการทำงาน ด้วยการจัดทำระบบฐานข้อมูลที่มีความเชื่อมโยงกันจนส่งผลให้มีความทันสมัย ซึ่งจะส่งผลดีต่อการทำงานของชานาลินฟาร์มเพื่อลดความยุ่งยากซับซ้อนในการทำงานให้สะดวกในการจัดการข้อมูลไข่ ข้อมูลโรงเรือน ข้อมูลไก่ ข้อมูลอาหาร ที่ต้องการความแม่นยำและถูกต้อง พร้อมทั้งออกรายงานและรายละเอียดอื่น ๆ ให้รองรับกับเทคโนโลยีปัจจุบันและอนาคต ตามวัตถุประสงค์ของการจัดทำ
การพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นสำหรับการบริหารจัดการฟาร์มไข่ไก่ ชานาลินฟาร์ม อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ ได้ใช้เครื่องมือในการพัฒนาดังนี้ เอชทีเอ็มเอล (html5), พีเอชพี (php), จาวาสคริปต์ (javascript), เจคิวรี่ (jquery) เพื่อให้รองรับกับทุกอุปกรณ์การใช้งาน สามารถทำงานในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชัน (web application) ซึ่งผู้จัดทำได้ออกแบบหน้าจอโดยใช้เทคโนโลยีแบบเรซสปอนต์ซีพ (responsive) ทางผู้จัดทำได้ออกแบบระบบการทำงานหลัก ๆ ได้แก่ ระบบการจัดเก็บข้อมูลไข่ประจำวัน ระบบการจัดเก็บข้อมูลไก่ประจำวัน ระบบการจัดเก็บสต๊อกอาหาร ระบบออกรายงาน และระบบจัดการข้อมูลทั่วไปของเว็บไซต์เป็นต้น ซึ่งได้แบ่งผู้ใช้งานออกเป็น 7 กลุ่ม ได้แก่ เจ้าของกิจการ พนักงานประจำโรงเรือน พนักงานฝ่ายผลิตอาหาร พนักงานดูแลไข่ สัตว์แพทย์ บุคคลทั่วไป ผู้ดูแลระบบ เพื่อให้สามารถจัดการข้อมูลต่าง ๆ ในสถาบันเพื่อลดความผิดพลาดในการทำงาน พร้อมทั้งสรุปรายงานและรายละเอียดอื่น ๆ ตามความต้องการของเจ้าของฟาร์มไข่ไก่
จากการทดสอบระบบการพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นสำหรับการบริหารจัดการฟาร์มไข่ไก่ ชานาลินฟาร์ม อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ ทางผู้จัดทำได้ทำแบบประเมินจำนวนทั้งหมด 30 ชุด โดยแบ่งข้อมูลพื้นฐานผู้ตอบแบบสอบถามดังนี้ 1) เพศ 2) อายุ 3) การศึกษา 4) สถานะผู้ใช้งานระบบ พบว่าความพึงพอใจในภาพรวมพบว่าระดับความพึงพอใจของผู้มาตอบแบบสอบถามต่อความต้องการของผู้ใช้อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.50) โดยพอใจในด้านการแสดงผลของระบบมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.67) รองลงมาคือด้านความถูกต้องและแม่นยำของระบบ (ค่าเฉลี่ย 4.29) และด้านความสามารถและการใช้งานของระบบความพึงพอใจต่ำที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.07)
จากผลการประเมินที่ได้รับ ผลออกมาในระดับดี แสดงให้เห็นถึงเว็บแอปพลิเคชันสามารถใช้งานได้จริง มีการออกแบบหน้าจอผู้ใช้งานได้เป็นที่เพิ่งพอใจแก่ผู้ใช้ ช่วยให้การทำงานของฟาร์มไข่ไก่มีความเป็นระบบ และมีการจัดเก็บข้อมูลที่ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
ไฟล์เอกสาร
ป้ายกำกับ