ชื่อโปรเจค (ภาษาไทย)
การวิเคราะห์ข้อมูลด้านงานวิจัยเพื่อใช้สนับสนุนการตัดสินใจ จัดสรรงบประมาณวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ชื่อโปรเจค (ภาษาอังกฤษ)
data analysis for decision making of research budget management, research and development institute, rajamangala university of technology lanna
รหัสนักศึกษา
60541207002-7
ปีที่จบการศึกษา
2564
ที่ปรึกษา
อาจารย์นพณัฐ วรรณภีร์
บทคัดย่อ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (สวพ.) เป็นหน่วยงานหลักใน การสนับสนุนและส่งเสริมงานวิจัยของ มทร.ล้านนา เน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากรในมหาวิทยาลัย และหน่วยงานภาคี เพื่อพัฒนาสู่ระดับสากล จุดประสงค์ของโครงการนี้คณะผู้จัดทำได้นำชุดข้อมูลที่ได้บางส่วน มาทดสอบเข้าสู่กระบวนการ จำแนกตามรายการชุดของข้อมูล โดยการใช้ขีดความสามารถในการประมวลผลของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือในการวิเคราะห์ข้อมูล และประมวลผลข้อมูลให้เหมาะสมตรงกับความต้องการ เป็นการแยกแยะสิ่งที่จะพิจารณาออกเป็นส่วนย่อยที่มีความสัมพันธ์กันเพื่อทำความ เข้าใจกับข้อมูลที่ได้รับและข้อมูลในแต่ละส่วนให้ชัดเจน รวมทั้งการสืบค้นความสัมพันธ์ของส่วนต่าง ๆ เพื่อดูว่าส่วนประกอบปลีกย่อยนั้นสามารถเข้ากันได้หรือไม่ มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอย่างไร โดยคณะผู้จัดทำได้เลือกเครื่องมือเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการทำเหมืองข้อมูล (data mining) แบบกฎความสัมพันธ์ของข้อมูล (association analysis) ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างโมเดลจัดการข้อมูล (data modeling) ให้อยู่ในกลุ่มที่กำหนดมาให้ โดยอาศัยการเรียนรู้จากข้อมูลในช่วงเวลาที่ผ่านมาในรูปแบบ ข้อมูลที่มีการจัดเก็บไว้แล้ว (descriptive analytics) ซึ่งจะใช้ข้อมูลงบประมาณงานวิจัยที่รวบรวมไว้ ย้อนหลัง 3 ปีงบประมาณตั้งแต่ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ถึง พ.ศ. 2564 นอกจากนี้ผู้จัดทำได้ทำการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบภาพนิทัศน์ของข้อมูล (data visualization) ด้วยโปรแกรมพาวเวอร์ บีไอ (power bi) และเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศนี้บนเว็บบราวเซอร์ ทำให้สะดวกในการเข้าถึงข้อมูลของสถาบันวิจัยและพัฒนา (สวพ.)
จากผลการวิเคราะห์กฎความสัมพันธ์สามารถสรุปผลโดยแบ่งออกมาได้ 4 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่หนึ่งบุคลากรที่เป็นข้าราชการและมีตำแหน่งเป็นรองศาสตราจารย์ โดยบุคลากรในกลุ่มนี้ควรที่จะดึงมาเป็นวิทยากร การให้องค์ความรู้ หรือเป็นที่ปรึกษา เพื่อเข้ามาส่งเสริมกระบวนการวิจัยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกลุ่มที่สองบุคลากรที่เป็นข้าราชการที่ทำงานมากกว่า 15 ปีขึ้นไปทางมหาวิทยาลัยต้องส่งเสริมให้ข้าราชการมีบทบาทในการยื่นขอตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ โดยส่งเสริมให้บุคลากรข้าราชการทำวิจัยเกี่ยวกับการเรียนการสอน โดยการนำประสบการณ์ที่ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่นักศึกษา มาจัดทำงานวิจัยเพื่อส่งเสริมให้เกิดตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์กลุ่มที่สามบุคลากรที่ทำงาน 0-6 ปี บุคลากรในกลุ่มนี้จะเป็นอาจารย์ที่ยังไม่มีผลงานวิจัย และยังไม่ค่อยจำเป็นต้องผลักดันให้เกิดงานวิจัย แต่ควรจะส่งเสริมให้ความรู้ โดยการอบรมโครงการส่งเสริมตำแหน่งทางวิชาการ การอบรมการจัดสรรงบประมาณทุนวิจัย และการอบรมการขอผลงานวิชาการที่สูงขึ้นและกลุ่มที่สี่บุคลากรที่ทำงาน 6-11 ปี พบว่าส่วนใหญ่จะเป็นอาจารย์ที่ไม่มีผลงานวิจัยทางมหาลัยเริ่มมีการดูผลงานการทำวิจัยก่อนที่จะต่อสัญญาการเป็นอาจารย์ ดังนั้นสถาบันวิจัยและพัฒนา (สวพ.) ควรผลักดันให้เกิดผู้ช่วยศาสตราจารย์ โดยการจัดโครงการส่งเสริมตำแหน่งทางวิชาการและจัดสรรงบประมาณทุนวิจัย เพื่อให้บุคลากรที่ไม่มีทุนในการทำวิจัย ได้มีการเขียนสมัครขอทุนนักวิจัยเพื่อนำทุนวิจัยไปพัฒนางานวิจัยและนำผลงานวิจัยยื่นต่อสัญญาการเป็นอาจารย์ของมหาลัยราชมงคลล้านนา
ไฟล์เอกสาร
ป้ายกำกับ