ข้อมูลรายละเอียดโปรเจค
เพิ่มโดย นายณัฐดนัย  รัตนวิชัยกุล เมื่อ 2019-06-05 21:57:23
ชื่อโปรเจค (ภาษาไทย)
ระบบบริหารจัดการการพัฒนาระบบสารสนเทศพื้นที่เสมือน 3 มิติ โดยใช้ google api เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการอำเภอแม่แจ่ม ในการขายสินค้าในยุคไทย แลนด์ 4.0
ชื่อโปรเจค (ภาษาอังกฤษ)
management system for the development of 3d virtual space information system using google api to promote entrepreneurs in mae chaem district in selling products in thailand 4.0
รหัสนักศึกษา
58541204094-1
ปีที่จบการศึกษา
2561
ที่ปรึกษา
อาจารย์จตุพร  ศิลพรชัย
บทคัดย่อ
        การจัดทำโครงการพัฒนาเชิงพื้นที่ผ่านทรัพยากรทางศิลปะและวัฒนธรรมเมืองแม่แจ่มการพัฒนาและแก้ปัญหาพื้นที่อย่างยั่งยืนที่เมืองแม่แจ่มนี้ เป็นการทำงานแบบบูรณาการที่หลายภาคส่วนได้มีส่วนร่วมกันดำเนินการ ในส่วนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนานั้น นอกจากจะเข้าร่วมในแผนงานด้านอื่น ๆ แล้วยังมีความสนใจที่จะขับเคลื่อนงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ ( area-beased development) ในงานวิจัย โครงการพัฒนาเชิงพื้นที่ผ่านทรัพยากรทางศิลปะและวัฒนธรรมเมืองแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ในบทบาทที่มหาวิทยาลัยเป็นกลไกลสำคัญในการพัฒนาพื้นที่ในมิติต่าง ๆ ด้วยการพัฒนาระบบสารสนเทศพื้นที่เสมือน 3 มิติ โดยใช้ google api เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงศิลปะ วัฒนธรรมและส่งเสริมผู้ประกอบการอำเภอ แม่แจ่ม ในการขายสินค้าในยุคไทยแลนด์ 4.0 สนับสนุนโครงการพัฒนาเชิงพื้นที่ผ่านทรัพยากรทางศิลปะและวัฒนธรรมเมืองแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ จึงมีแผนพัฒนาร่วมด้วยกับ โครงการพัฒนาเชิงพื้นที่ผ่านทรัพยากรทางศิลปะและวัฒนธรรมเมืองแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ด้านต่อยอดและส่งเสริมให้ผู้ประกอบการทางวัฒนธรรม (cultural entrepreneur) ) ที่สร้างรายได้ด้วยทุนทางศิลปะและวัฒนธรรม  รวมถึงเพื่อเป็นการรักษามรดกทางวัฒนธรรม(cultural heritage) เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและมั่นคงต่อเศรษฐกิจและสังคมในประเทศต่อไป เราจึงคิดจัดทำเว็บไซต์เพื่อเป็นกลไกลสำคัญในการพัฒนาพื้นที่ในมิติต่าง ๆ ผ่านศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่น และ ยังช่วยสร้างรายได้ด้วยต้นทุนทางศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อรักษาและสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมต่อไป
        โดยที่กล่าวมาทั้งหมด จะเป็นการพัฒนาระบบผ่านางเว็บเบาร์เซอร์ที่เป็นโปรแกรมประยุกต์บนเว็บไซต์ (web application) โดยใช้สถาปัตยกรรมแบบ ไคล์แอนท์-เซิร์ฟเวอร์ (client-server) และบริหารจัดการข้อมูลผ่านบนเว็บเบาร์เซอร์ที่ใดก็ได้ตลอดเวลา ผู้จัดทำนำเครื่องมือภาษาพีเอชพี (php) มาใช้เพื่อการเขียนโครงสร้างหลักของโปรแกรมบนเว็บไซต์รวมถึงภาษาเอชทีเอ็มแอลเวอร์ชั่น 5 (html5) และภาษาซีเอสเอสเวอร์ชั่น 3 (css3) มาใช้เป็นภาษาที่ใช้งานเพื่อจัดรูปแบบของเว็บไซต์ ร่วมกับภาษา java script และ jquery ที่จะใช้เพื่อจัดเว็บไซต์ให้มีการตอบสนองกับผู้ใชให้ได้มากที่สุดใช้ โดยระบบจะแบ่งผู้ใช้เป็น 5 ระดับ คือ หัวหน้าโครงการที่สามารถออกรายงานสรุปยอดขาย ยอดสั่งซื้อ และสินค้าขายดีเป็นไตรมาส เจ้าของกิจการที่สามารถจัดการสินค้า บทความ และสถานที่ท่องเที่ยวรวมถึงการจัดการแผนที่ ผู้ดูแลระบบที่สามารถจัดการสิทธิการเข้าใช้งานระบบและดูแลการทำงานของเว็บไซต์ ผู้ใช้สมาชิกที่สามารถทำการซื้อขายสินค้าผ่านเว็บไซต์ได้ และผู้ใช้งานทั่วไปที่สามารถเข้าชมเว็บไซต์และข่าวสารต่าง ๆ ภายในเว็บ
        จากการวิเคราะห์การประเมินความพึงพอใจของการพัฒนาระบบสารสนเทศพื้นที่เสมือน 3 มิติ โดยใช้ google api เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงศิลปะ วัฒนธรรมและส่งเสริมผู้ประกอบการอำเภอ แม่แจ่ม ในการขายสินค้าในยุคไทยแลนด์ 4.0 ตามวัตถุประสงค์ด้านการทำงานของระบบโดยรวมพบว่า ค่าเฉลี่ยเลขคณิตเท่ากับ 4.51 ซึ่งได้รับการยอมรับว่าคุณภาพของการใช้งานระบบอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ผลการวิเคราะห์ไม่พบรายการที่อยู่ในระดับปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด สำหรับการกระจายระดับความพึงพอใจของข้อมูลจากค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.61 ทั้งนี้ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่มีค่าระหว่าง 0 - 1 หมายถึงข้อมูลโครงงานมีความน่าเชื่อถือโดยระบบลดความผิดพลาดในการจัดเก็บต่าง ๆ พร้อมทั้งสรุปรายงานตามความต้องการของผู้ประกอบการ เมืองแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ และเมื่อพัฒนาระบบดังกล่าวเสร็จสิ้นก็จะสามารถช่วยเหลือด้านการจัดจำหน่ายสินค้าทางพื้นบ้านของชุมชนเมืองแม่แจ่ม  ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อให้เกิดความสะดวกสบายแก่ลูกค้า พร้อมทั้งยังลดค่าใช้จ่ายและลดระยะเวลาที่ต้องเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ เป็นการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าและเป็นการกระจายข้อมูลข่าวสารศิลปะและวัฒนธรรมต่างๆของชุมชนเมืองแม่แจ่ม พร้อมทั้งจัดทำระบบสนับสนุนเชิงภูมิศาสตร์ในกับชุมชนท้องถิ่นและเพื่อการเข้าถึงวัฒนธรรมและชุมชนอย่างยั่งยืนและถูกต้องส่งเสริมด้านการอนุรักษ์และถ่ายทอดศิลปะและวัฒนธรรมต่างๆของชุมชน 
ไฟล์เอกสาร
ป้ายกำกับ