ข้อมูลรายละเอียดโปรเจค
เพิ่มโดย นางสาวกานต์พิชชา  เชื้อทองคำ เมื่อ 2021-10-20 15:39:44
ชื่อโปรเจค (ภาษาไทย)
การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจการเพิ่มอัตราบุคลากรสายวิชาการ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่
ชื่อโปรเจค (ภาษาอังกฤษ)
data analytics for decision making of faculty members recruitment: a case study of faculty of business administration and liberal arts, rmutl chiang mai.
รหัสนักศึกษา
60541207066-2
ปีที่จบการศึกษา
2564
ที่ปรึกษา
อาจารย์นพณัฐ  วรรณภีร์
บทคัดย่อ
          การจัดทำโครงงานในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจการเพิ่มอัตราบุคลากรสายวิชาการ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่ โดยนำข้อมูลทุติยภูมิจากฐานข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลของบุคลากร ข้อมูลจากสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน  และข้อมูลสำนักงานประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยขั้นตอนกระบวนการการวิเคราะห์ข้อมูล โดยด้วยกระบวนการมาตรฐานที่ใช้สำหรับการทำเหมืองข้อมูล (cross-industry standard process for data mining) จากเทคนิคการทำเหมืองข้อมูลแบบการจำแนกประเภทข้อมูล (data classification) ด้วยการสร้างโมเดลต้นไม้ตัดสินใจ (decision tree) เพื่อจัดกลุ่มข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน โดยใช้โปรแกรมที่ใช้ทำเหมืองข้อมูล คือ โปรแกรม เวก้า(weka) และโปรแกรมไนม์ (knime) ในการสร้างโมเดลต้นไม้ตัดสินใจ (decision tree) เพื่อทำการเปรียบเทียบ และเลือกผลลัพธ์ที่ดีที่สุดมานำเสนอ จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าเทคนิคการจำแนกข้อมูลด้วย j48 ให้ผลลัพธ์การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจการเพิ่มอัตราบุคลากรสายวิชาการ ควรเพิ่ม (add) หรือไม่ควรเพิ่ม (notadd) มีความถูกต้องถึง 80.44% และ ให้ผลลัพธ์ของกฎที่สามารถทำนายได้จำนวน 4 กฎ จากนั้นนำข้อมูลสารสนเทศมาทำการแสดงผลแบบการนำเสนอข้อมูล (visualization)โดยใช้โปรแกรมพาวเวอร์บีไอ เดสก์ท็อป (power bi desktop) 
          จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า สามารถทำนายได้จำนวน 4 กฎ ได้แก่ กฎข้อที่ 1 ถ้าสัดส่วนนักศึกษาต่ออาจารย์มีจำนวนพอดี ผลการพิจารณาพบว่า “ไม่ควรเพิ่มอาจารย์” กฎข้อที่ 2 ถ้าสัดส่วนนักศึกษาต่ออาจารย์มีจำนวนเยอะมาก ผลการพิจารณาพบว่า “ควรเพิ่มอาจารย์” กฎข้อที่ 3 ถ้าสัดส่วนนักศึกษาต่ออาจารย์มีจำนวนเยอะ และจำนวนภาระการสอนในหลักสูตร มีจำนวนภาระการสอนในหลักสูตรเยอะ ผลการพิจารณาพบว่า “ควรเพิ่มอาจารย์” และกฎข้อที่ 4 ถ้าสัดส่วนนักศึกษาต่ออาจารย์มีจำนวนเยอะ และจำนวนภาระการสอนในหลักสูตร มีจำนวนภาระการสอนในหลักสูตรน้อย ผลการพิจารณาพบว่า “ไม่ควรเพิ่มอาจารย์” ซึ่งพบว่าในปีการศึกษา 2558 หลักสูตรการจัดการ การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ(นานาชาติ) การท่องเที่ยวและการโรงแรม และภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล เป็นตามเงื่อนไขที่ 1 หลักสูตรภาษาอังกฤษธุรกิจ เป็นไปตามเงื่อนไขที่ 2 หลักสูตรระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์ และการบัญชี เป็นไปตามเงื่อนไขที่ 3 และหลักสูตรการตลาด เป็นไปตามเงื่อนไขที่ 4 ในปีการศึกษา 2559 พบว่าหลักสูตรการจัดการ การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ(นานาชาติ) การท่องเที่ยวและการโรงแรม และ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล เป็นตามเงื่อนไขที่ 1 หลักสูตรภาษาอังกฤษธุรกิจ เป็นไปตามเงื่อนไขที่ 2 หลักสูตรระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์ และการบัญชี เป็นไปตามเงื่อนไขที่ 3 และหลักสูตรการตลาด เป็นไปตามเงื่อนไขที่ 4 ในปีการศึกษา 2560 พบว่าหลักสูตรการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ(นานาชาติ) ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ การท่องเที่ยวและการโรงแรม ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล เป็นไปตามเงื่อนไขที่ 1 และการบัญชี เป็นไปตามเงื่อนไขที่ 3 ในปีการศึกษา 2561 พบว่าหลักสูตรการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ(นานาชาติ) การท่องเที่ยวและการโรงแรม และภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล เป็นไปตามเงื่อนไขที่ 1 หลักสูตรระบบสารสนเทศทางธุรกิจ เป็นไปตามเงื่อนไขที่ 3 และการบัญชี เป็นไปตามเงื่อนไขที่ 4 ในปีการศึกษา 2562 พบว่าหลักสูตรการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ(นานาชาติ) ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ การท่องเที่ยวและการโรงแรม และภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล เป็นไปตามเงื่อนไขที่ 1 หลักสูตรการจัดการ และการตลาด เป็นไปตามเงื่อนไขที่ 2 และหลักสูตรการจัดการธุรกิจค้าปลีก ภาษาอังกฤษธุรกิจ และการบัญชี เป็นไปตามเงื่อนไขที่ 4 และในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ(นานาชาติ) ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ การบัญชี การท่องเที่ยวและการบริการ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล เป็นไปตามเงื่อนไขที่ 1 หลักสูตรการตลาด การจัดการธุรกิจค้าปลีก เป็นไปตามเงื่อนไขที่ 2 และหลักสูตรการจัดการ ภาษาอังกฤษธุรกิจ เป็นไปตามเงื่อนไขที่ 4 ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ได้ตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้
ไฟล์เอกสาร
ป้ายกำกับ